วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด

หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด ควรมีจุดเน้นในการเสริมสร้างการป้องกันมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และในทางกลับกันก็จะต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสพยาเสพติด (Hawkins, J.D. and others.  2002) สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสพยาเสพติด จากงานวิจัยต่างๆ พบว่า มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย อาทิ เช่น ทัศนคติในทางลบหรือต่อต้านสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนและที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ฯลฯ ในขณะที่ความรักความอบอุ่นจากบิดามารดาเป็นปัจจัยป้องกันที่สำคัญ (Wills, T. and others.  1996) ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงและป้องกันเหล่านี้จะมากหรือน้อยมักแปรผันไปตามอายุ ของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ปัจจัยครอบครัวจะมีผลอย่างมากต่อเด็กอายุน้อย ในขณะที่อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเยาวชน (Dishion, T. and others,  1999;  Gerstein, D.R. and Green, L.W..   1993) การเข้าแทรกแซงปัจจัยเสี่ยงจึงควรกระทำต่อปัจจัยสาเหตุ ตัวอย่างเช่น การแทรกแซงเงื่อนไขเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและเด็กกลุ่มที่ไม่สามารถควบ คุมตัวเองได้ จะก่อให้เกิดผลกระทบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินชีวิตของเด็กให้ หนีห่างจากปัญหาแม้ว่าจะด้วยการเสริมพฤติกรรมทางบวกก็ตาม (Ialongo, N. and others.  1991) ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันจะมีผลต่อทุกกลุ่มประชากรแต่ขนาดผลของ ที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ คุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายทั้งในแง่อายุ เพศ วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และสภาพแวดล้อม (Beauvais, F. and others.  1996; Moon, D. and others.  1999)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องรวมเอาการใช้ยาเสพติดทุกประเภทเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเน้นย้ำยาเสพติดแต่ละตัวหรือบูรณาการเข้าด้วยกันก็ตาม สิ่งเหล่านี้รวมถึงการใช้สารที่ถูกกฎหมายในขณะที่อายุยังน้อย (เช่น บุหรี่และสุรา ฯลฯ) การเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย (เช่น ไอซ์ กัญชา เฮโรอีน ฯลฯ) และการใช้สารที่ถูกกฎหมายอย่างไม่เหมาะสม (เช่น สารระเหย การใช้ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่งใช้ รวมทั้งการใช้ยารักษาโรคที่ไม่ถูกวิธี ฯลฯ) ( Johnston, L.D. and others.  2002)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องเน้นไปที่การจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน การปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเป้าหมายหลักซึ่งอาจกำจัดให้หมดไปหรือทำ ให้น้อยลง และการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับปัจจัยป้องกัน(14)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับกลุ่มประชากรจำเพาะและปัจจัยเสี่ยงนั้นๆโดย ต้องเหมาะสมกับอายุ เพศ และสังคมวัฒนธรรมชาติพันธุ์ อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิผล(Oetting, E. and others.  1997)

เยาวชนกับการป้องกัน

เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

 ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  
          - ความ อยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิด หรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
 
          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น
              การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง
              ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม
              ไปสู่ชีวิตของตนเอง 
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม
              จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น
              แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น
               สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
 
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง

          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี
              การ มั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
              ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ
              ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน
              ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น

ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น

ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ถ้า ท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาปัองกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอดและระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด

          ใน โลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมาย ที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่าน ท่านทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด เอ๊ะแล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือ  เพื่อนมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า  เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่  การเล่นกีฬา
เล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมส์ต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนตในคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอีกมากมายที่จะนำความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจและยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติดไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้

ความเป็นมาวันต่อต้านยาเสพติด

ความเป็นมาวันต่อต้านยาเสพติด

        ประเทศไทย : สำนัก งาน ป.ป.ส.ใน ฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

คำขวัญและกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด 2556
คำขวัญและกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด 2556
 

กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด 2556

         รัฐบาลกำหนดนโยบายให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยมียุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” เป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการระดมสรรพกำลังของทุกภาคส่วนร่วมเป็นพลังแผ่นดินในการเอาชนะยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานยาเสพติด จึงกำหนดเร่งดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติ เพื่อสนองต่อนโยบายรัฐบาล รวมถึงการกำหนดนโยบายในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมให้สอดรับกับแผน และยุทธศาสตร์การดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล

วัตถุประสงค์กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด

      1. เพื่อให้ประชาชน ชุมชน เยาวชน และหน่วยงานภาคี รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของวันต่อต้านยาเสพติด ในการที่จะร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด

       2. เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ ที่ร่วมเป็น “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”

       3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วนของสังคมเกิดความตระหนักถึงภัยจากยาเสพ ติดและเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการเอาชนะยาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
 
        4. เพื่อให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังของคนในชาติ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด

    คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด สากลในปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 255 คือ Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs :  ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดของไทย

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2548 : ”พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2549 : 60 ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2550 : ”รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2551 : ”รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2552 แนวคิด : ”ทำความดี ตามคำพ่อ” ภายใต้คำขวัญ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2553 : ”ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด” - ”Health is the ongoing theme of the world drug campaign.”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2554 : “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2555 : ”ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด” “Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs”

    คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2556 : “ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน”

คำขวัญและกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด

คำขวัญและกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด

วันต่อต้านยาเสพติด คำขวัญ
และกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด
 
คำขวัญและกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด 2556


คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2556

ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน
คำขวัญภาษาอังกฤษ : " Drug elimination, Together we can "
แนวคิด :“คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด”  (ร่วมใส่เสื้อขาว)

ความเป็นมาวันต่อต้านยาเสพติด

       ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายา เสพติด มา เป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่น ที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ

       ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่าย เดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519

       ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่าง มีแบบแผน และเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพ ติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking I) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตาม ข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530