วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด

หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด ควรมีจุดเน้นในการเสริมสร้างการป้องกันมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และในทางกลับกันก็จะต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสพยาเสพติด (Hawkins, J.D. and others.  2002) สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสพยาเสพติด จากงานวิจัยต่างๆ พบว่า มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย อาทิ เช่น ทัศนคติในทางลบหรือต่อต้านสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนและที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ฯลฯ ในขณะที่ความรักความอบอุ่นจากบิดามารดาเป็นปัจจัยป้องกันที่สำคัญ (Wills, T. and others.  1996) ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงและป้องกันเหล่านี้จะมากหรือน้อยมักแปรผันไปตามอายุ ของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ปัจจัยครอบครัวจะมีผลอย่างมากต่อเด็กอายุน้อย ในขณะที่อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเยาวชน (Dishion, T. and others,  1999;  Gerstein, D.R. and Green, L.W..   1993) การเข้าแทรกแซงปัจจัยเสี่ยงจึงควรกระทำต่อปัจจัยสาเหตุ ตัวอย่างเช่น การแทรกแซงเงื่อนไขเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและเด็กกลุ่มที่ไม่สามารถควบ คุมตัวเองได้ จะก่อให้เกิดผลกระทบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินชีวิตของเด็กให้ หนีห่างจากปัญหาแม้ว่าจะด้วยการเสริมพฤติกรรมทางบวกก็ตาม (Ialongo, N. and others.  1991) ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันจะมีผลต่อทุกกลุ่มประชากรแต่ขนาดผลของ ที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ คุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายทั้งในแง่อายุ เพศ วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และสภาพแวดล้อม (Beauvais, F. and others.  1996; Moon, D. and others.  1999)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องรวมเอาการใช้ยาเสพติดทุกประเภทเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเน้นย้ำยาเสพติดแต่ละตัวหรือบูรณาการเข้าด้วยกันก็ตาม สิ่งเหล่านี้รวมถึงการใช้สารที่ถูกกฎหมายในขณะที่อายุยังน้อย (เช่น บุหรี่และสุรา ฯลฯ) การเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย (เช่น ไอซ์ กัญชา เฮโรอีน ฯลฯ) และการใช้สารที่ถูกกฎหมายอย่างไม่เหมาะสม (เช่น สารระเหย การใช้ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่งใช้ รวมทั้งการใช้ยารักษาโรคที่ไม่ถูกวิธี ฯลฯ) ( Johnston, L.D. and others.  2002)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องเน้นไปที่การจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน การปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเป้าหมายหลักซึ่งอาจกำจัดให้หมดไปหรือทำ ให้น้อยลง และการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับปัจจัยป้องกัน(14)
หลักการป้องกันปัญหายาเสพติด จะต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับกลุ่มประชากรจำเพาะและปัจจัยเสี่ยงนั้นๆโดย ต้องเหมาะสมกับอายุ เพศ และสังคมวัฒนธรรมชาติพันธุ์ อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิผล(Oetting, E. and others.  1997)